อาการ ปวดฟันคุด มีลักษณะหลายแบบ แต่ส่วนใหญ่คนไข้จะไม่รู้ว่าตัวเองมีฟันคุดอยู่ เพราะตัวฟันไม่โผล่ขึ้นมาให้เห็นเหนือเหงือก จึงไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า คนไข้จะต้องหาทันตแพทย์เพื่อทำการเอกซเรย์เท่านั้นถึงจะมองเห็นได้ แต่ก็สามารถรับรู้ได้ว่าจากอาการปวดฟันคุดต่างๆ ได้แก่
- ปวดบวม เป็นหนอง เพราะฟันคุดไปกดเหงือกจนเหงือกอักเสบ
- ปวดหัวร่วมด้วย เพราะฟันคุดไปกดเส้นประสาทบริเวณรากฟัน
- ปวดฟันใกล้เคียง เพราะโดนฟันคุดดันจนฟันโยก หรือเปลี่ยนรูปร่าง
- ปวดมากๆ แต่ไม่รู้ว่าปวกฟันซีไหนอยู่
- ปวดจนอ้าปากไม่ได้
- ปวดหูร่วมด้วย
- ปวดฟันจี๊ดขึ้นสมอง
- ปวดฟันแบบตุบๆ
- เป็นฝีในช่องปาก
- บางเคสจะไม่พบอาการปวดเลย
ซึ่งหากปล่อยให้ฟันคุดยังอยู่ ก็จะเป็นผลเสียต่อสุขภาพในช่องปากของคนไข้ วันนี้เราจะไปดูกันว่าฟันคุดเกิดจากอะไร แล้วอันตรายจากการผ่าฟันคุดมีอะไรบ้าง ลักษณะฟันคุดที่ต้องผ่ามีอะไรบ้าง อาการเหล่านี้เกิดจากอะไร ถ้าพร้อมแล้ว ก็ไปดูกันเลยค่ะ!
ฟันคุดเกิดจากสาเหตุอะไร
ฟันคุด เป็นฟันที่ขึ้นไม่ปกติในช่องปาก เพราะไม่มีพื้นที่พอให้โผล่ออกมา หรือ อาจมีสิ่งกีดขวางของการขึ้นของฟันซี่นั้นๆได้ เช่น เหงือกที่หนาเกินไป ฟันซี่ใกล้เคียง กระดูก รวมไปถึงทิศทางที่ฟันนั้นๆขึ้นด้วย ฟันคุด จึงเป็นฟันกรามแท้ที่โผล่ขึ้นมาไม่พ้นเหงือก ซึ่งฟันคุดส่วนใหญ่เกิดจากสาเหตุที่ขากรรไกรไม่สัมพันธ์กับขนาดของฟัน เช่น ขากรรไกรเล็ก แต่ขนาดของฟันกลับใหญ่กว่ามาก จึงทำให้เกิดฟันที่เรียกว่า ฟันคุดขึ้นมา
ฟันคุด อันตรายไหม
อันตรายที่เกิดจากฟันคุด มีหลายแบบ ได้แก่
- ทำให้เหงือกอักเสบ
- ทำให้ฟันข้างๆผุ
- ทำให้เกิดการสะสมของแบคทีเรียในร่องฟัน
- แรงดันจากฟันคุดจะไปทำลายกระดูกรอบๆรากฟัน
- ทำให้เกิดปัญหารากฟัน
- ทำให้เป็นไซนัส
- ทำให้เกิดอาการบวมที่เหงือก
- ทำให้เส้นประสาทเกิดความเสียหายได้
- ทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนต่างๆ เช่น ปวดหัว ปวดหู
เมื่อคนไข้รู้ว่ามีฟันคุดแล้ว ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการผ่าฟันคุดโดยด่วน!
ฟันคุดมีทุกคนไหม
ฟันคุด เป็นฟันกรามใหญ่ซี่ที่ 3 ด้านในสุด ปกติแล้วจึงมีกันทุกคน แต่เนื่องจากปัจจุบัน อาหารการกินไม่ได้โหดหินเหมือนเมื่อก่อน ทำให้ฟันซี่นี้เกิดการใช้ที่น้อยลง วิวัฒนาการจนทำให้รูปปากของเรานั้นเล็กลง เป็นสาเหตุทำให้พื้นที่ในปากนั้นเล็กลงไปด้วย ผลคือ ไม่มีที่ให้ฟันกรามใหญ่ซี่ที่ 3 โผล่พ้นเหงือกได้ จึงเกิดฟันคุดที่มีกันทุกคนค่ะ
ลักษณะฟันคุด ต้องผ่า
ฟันคุดที่ต้องผ่าออกจะเป็นฟันคุดที่ก่อให้เกิดโทษต่อสุขภาพในช่องปาก ได้แก่
- ฟันคุดที่งอกผิดรูปร่างทำให้เกิดเหงือกอักเสบ
- ฟันคุดที่ก่อให้เกิดฟันผุ
- ฟันคุดที่ทำให้เกิดถุงน้ำหรือเนื้องอกได้
- ฟันคุดที่ทำให้เส้นประสาทเกิดความเสียหาย
- ฟันคุดที่ทำให้เกิดปัญหารากฟัน
ปวดฟันคุด ถอนเลยได้ไหม
สมัยก่อนนั้น คนไข้หลายคนมักเข้าใจผิดว่าเวลาที่ปวดฟันคุดแล้วจะทำการถอนหรือผ่าฟันคุดออกมาไม่ได้ ซึ่งไม่จริงเสมอไป ขึ้นอยู่กับกรณี ได้แก่
- กรณีอักเสบไม่มากนัก ปวดฟันเฉยๆ ไม่มีฟันผุทะลุโพรงประสาท ก็สามารถทำการถอนฟันคุดได้เลย ทำให้ลดอาการปวดออกไปได้ทันที
- กรณีที่มีการติดเชื้อค่อนข้างรุนแรง โดยเฉพาะคนไข้ที่มีโรคประจำตัว เช่นโรคเบาหวาน ก็จะพิจารณาในจุดควบคุมการติดเชื้อก่อน จนถึงระดับนึงที่สามารถถอนหรือผ่าฟันคุดออกได้
อยากรู้เรื่อง ผ่าฟันคุด ให้ลึกกว่านี้อีกไหม?
คุณสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ :
ปวดฟันคุด เหงือกบวม ถอนได้ไหม
ในกรณีนี้ ทางคุณหมอขอแนะนำให้รอก่อน ควรไปพบทันต์แพทย์ก่อน เมื่อคุณหมอตรวจดูเบื้องต้น ก็จะจ่ายยาให้ก่อน เพื่อลดอาการบวมของเหงือกก่อน ภายหลังเหงือกหายบวมเรียบร้อยแล้ว ค่อยไปรักษาผ่าฟันคุดตามปกติ
ฟันคุดไม่ผ่าได้ไหม
เมื่อคนไข้ตรวจเจอฟันคุด ทันตแพทย์จะแนะนำให้ผ่าฟันคุดนั้นออกในทุกกรณี เพราะการมีฟันคุดจะทำให้เกิดปัญหาแทรกซ้อนขึ้นในช่องปาก และส่งผลกระทบกับแนวฟันของคุณอีกด้วย แต่หากไม่ต้องการผ่าฟันคุดออก ทันตแพทย์จะขอติดตามดูการเปลี่ยนแปลงของฟันคุดของคุณ เพื่อพิจารณาองค์ประกอบต่างๆ เช่น
- ตำแหน่งของฟัน
- อายุ
- ทิศทางของฟันคุด
ฟันคุด อาการ ที่เกิดขึ้นต่างๆ
ในการรักษาฟันคุด คนไข้อาจต้องเจอกับ อาการ ปวดฟันคุด ต่างๆไม่ว่าจะเป็นอาการที่เกิดจากฟันคุด หรืออาการที่เกิดจากหลังผ่าฟันคุด ซึ่งทางเราได้รวบรวมมาให้คุณเรียบร้อยแล้ว ดังนี้
ปวดฟันคุด อ้าปากไม่ได้
ป็นอาการปวดฟันคุดบริเวณขากรรไกร ลึกเข้าไปตรงที่เชื่อมระหว่างฟันกรามบน-ล่าง จึงทำให้เวลาอ้าปากไม่ได้ เพราะจะเจ็บปวดมาก
ปวดฟันคุด ปวดหัว
เป็นอาการปวดฟันคุดพร้อมๆกับปวดหัวร่วมด้วย เพราะเกิดจากการที่ฟันคุดไปกดทับเส้นประสาทตรงบริเวณรากฟันที่เลี้ยงบริเวณศีรษะและคอ
ปวดฟันคุดมาก นอนไม่หลับ
เป็นอาการปวดฟันคุดรุนแรง เกิดได้หลายสาเหตุ ส่วนใหญ่เกิดจากฟันคุดอักเสบ คนไข้ควรรีบไปพบทันตแพทย์ให้เร็วที่สุด
ผ่าฟันคุดปวดหู
อาการนี้เกิดได้หลายสาเหตุ หากเป็นหลังจากการผ่าตัดฟันคุดแล้ว อาจเป็นไปได้ว่าเส้นประสาทที่เชื่อมกับหูบริเวณที่ผ่าเกิดการเสียหายขึ้น สามารถใช้ยาแก้ปวดพาราเซตามอลบรรเทาอาการลงได้
ผ่าฟันคุด อักเสบ หนอง
เกิดจากการติดเชื้อหลังผ่าฟันคุดออกไป เกิดขึ้นได้จากการล้างแผลขณะผ่าตัดไม่ดีพอ มีวิธีการรักษา ดังนี้
- กรีดปากแผลออกก่อน
- ดูดระบายหนองออก
- ล้างด้วยน้ำเกลือ
- ใช้ผ้าก๊อซ iodoform อุดหลวม ๆ เพื่อเปิดแผลไว้
- ล้างแผลเปลี่ยนผ้าก๊อซจนแผลดีขึ้น
- ให้ยาปฏิชีวนะป้องกันการติดเชื้ออีก ทุกๆ 6 ชั่วโมง เป็นเวลา 4-5 วัน
ผ่าฟันคุด มีขาวๆ ที่ก้นแผล
คนไข้บางรายเมื่อเห็นอะไรขาวๆหลังจากผ่าฟันคุดไปแล้ว มักเข้าใจผิดคิดว่าเป็นหนอง แต่อันที่จริงแล้ว คือ ขอบกระดูก ซึ่งไม่เป็นอันตรายอะไรค่ะ เหงือกจะค่อยๆมาคลุมปิดเอง
อันตรายจากการผ่าฟันคุด
การผ่าฟันคุด ไม่ใช่ว่าจะราบลื่นเสมอไป แต่ก็มีส่วนน้อยมากๆที่จะมีปัญหาหลังถอนฟันคุดออก สัญญาณที่บ่งบอกว่าจะเกิดอันตรายหลังจากการผ่าฟันคุด ได้แก่
- เลือดไหลจากแผลผ่าตัดมากผิดปกติ
- มีไข้
- หลังผ่าตัดไปแล้ว 2-3 วัน มีอาการแก้มปวดบวม ไม่ทุเลา
- ริมฝีปากล่างชานานผิดปกติ
หากพบอาการเหล่านี้ ให้รีบเข้าพบทันตแพทย์โดยด่วน
อยากรู้ไหมว่า ผ่าฟันคุดกินอะไรได้บ้าง?
คุณสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ :
อาการหลังผ่าฟันคุด ถอนฟันคุด
หลังจากผ่าฟันคุดออกแล้ว คนไข้จะมีอาการ
- มีเลือดไหลจากปากแผลผ่าตัด
- มีอาการปวดบวมในช่วงวันแรก แล้วค่อยทุเลาลง
- มีกลิ่นปาก
- มีอาการเจ็บแปลบๆ
- มีอาการชาที่ใบหน้า ริมฝีปาก หรือลิ้น ซึ่งอาจเกิดจากฤทธิ์ของยาชาที่ตกค้าง
ซึ่งอาการพวกนี้ จะเป็นในช่วง 1-2 วันแรกเท่านั้น หากเกินกว่านั้น หรือมีอาการผิดปกติมาก ควรรีบเข้าพบทันตแพทย์เพื่อหาทางแก้ไขทันที
ปวดฟันคุดกี่วันหาย
หลังผ่าฟันคุดจะมีอาการปวดและบวมที่แก้มตรงบริเวณที่ผ่าตัด ซึ่งจะบวม 2-3 วัน แล้วค่อยๆยุบออกไปเอง ความเจ็บปวดก็จะหายไปตามลำดับ ส่วนแผลผ่าฟันคุดจะค่อยๆหายเอง และถ้ากรณีที่ไม่มีการติดเชื้อแผลจะหายภายใน 2-3 สัปดาห์ ซึ่งขึ้นอยู่กับอายุของคนไข้ด้วย
แหล่งที่มา : Colgate