• Home
  • /
  • Blog
  • /
  • Dental
  • /
  • เจ็บเหงือก ปวดเหงือก ด้านในสุด ตรงฟันกราม ฟันคุด เป็นแผลเหงื่อก วิธีแก้ทําไงดี

December 19, 2021

เจ็บเหงือก ปวดเหงือก ด้านในสุด ตรงฟันกราม ฟันคุด เป็นแผลเหงื่อก วิธีแก้ทําไงดี

เจ็บเหงือก ด้านบน ด้านในสุด ตรงฟันกราม หลังถอนฟัน มีอาการ ปวดฟันคุด ปวดเหงือก ด้านในสุด อ้าปากไม่ได้ เป็นแผลเหงื่อก มีวิธีแก้หลายวิธี เช่น กินยาสมุนไพรแก้ปวดฟันเหงือกบวม หรืออื่นๆ

ซึ่งอาการเจ็บเหงือกหรือปวดเหงือกเกิดขึ้นได้กับทุกวัยตั้งแต่ทารกจนถึงผู้สูงอายุ ในบางครั้งอาจเป็นอาการที่แยกไม่ออกว่าเจ็บฟันหรือเป็นอาการเจ็บเหงือก ปวดเหงือก

เพราะอาการของเหงือกและฟันมักจะมีอาการเกี่ยวเนื่องกัน หรือหากไม่ได้มีสาเหตุจากโรคทางทันตกรรม ก็ยังคงมีสาเหตุเกิดจากฟัน เช่น ฟันขึ้นในเด็ก เป็นต้น 

หลายคนเริ่มสงสัยกันแล้วนะคะว่าอาการเจ็บหรือปวดเหงือกในแต่ละสาเหตุนั้น จะมีลักษณะคล้ายกันหรือไม่? แล้วมีวิธีการดูแลรักษายังไงเมื่อเกิดอาการ?

ในบทความนี้เราจะมาไขข้อกระจ่างของอาการเจ็บหรือปวดเหงือกให้เข้าใจกันมากขึ้นค่ะ

เลือกหัวข้ออ่าน :

สาเหตุเจ็บเหงือก ปวดเหงือก

สาเหตุเจ็บเหงือก ปวดเหงือก สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งโดยมากเราจะเจ็บหรือปวดเหงือกจากความผิดปกติบางอย่างภายในช่องปาก และสามารถเกิดได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ โดยอาการเจ็บหรือปวดเหงือกเกิดได้จากสาเหตุหลัก ดังนี้

สาเหตุ-เจ็บเหงือก-ปวดเหงือก

เจ็บเหงือกเพราะปวดฟันคุด

ฟันคุดมักเป็นปัญหาที่ทำให้ เจ็บเหงือกเพราะปวดฟันคุด ได้ เพราะฟันคุดมักงอกขึ้นมาในทิศทางที่ไม่ถูกต้อง ในบางครั้งตัวฟันงอกออกไปทางด้านข้าง แล้วเบียดกับฟันด้านข้างทำให้เกิดความเจ็บปวดบริเวณเหงือก

นี่เป็นสาเหตุว่าทำไมเราจึงควรผ่าฟันคุด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาที่หลากหลายตามมาไม่ว่าจะเป็น

  • ติดเชื้อบริเวณฟันคุด
  • อาการเหงือกอักเสบ
  • หรือจากฟันคุดก็กลายเป็นซีสต์ในช่องปากได้ 

ดังนั้น เมื่อพบว่ามีฟันคุดและมีอาการ เจ็บเหงือกเพราะปวดฟันคุด มากขึ้นมาควรรีบพบทันตแพทย์ เพื่อทำการรักษา ถอน หรือผ่าตัดนำฟันคุดออกโดยเร็วที่สุด

เจ็บเหงือก-เพราะปวดฟันคุด

เจ็บเหงือกเพราะเหงือกร่น

หลายครั้งที่ภาวะเหงือกร่นทำให้เกิดอาการ เจ็บเหงือกเพราะเหงือกร่น จนเจ็บถึงรากฟัน จนกระทั่งมีอาการเหงือกอักเสบหรือมีอาการเหงือกร่นที่รุนแรงขึ้น จึงทำให้เกิดอาการ เจ็บเหงือกเพราะเหงือกร่น ขึ้นมาได้

ในบางครั้งอาจมีอาการ...

  • เหงือกบวมแดง
  • เลือดออก
  • เสียวฟันเมื่อรับประทานอาหารร้อนหรือเย็นจัด
  • ฟันผุ
  • และมีกลิ่นปากร่วมด้วย

โดยอาการเจ็บเหงือกจากภาวะเหงือกร่นเกิดได้จาก...

  • ดูแลทำความสะอาดช่องปากอย่างไม่ถูกวิธี
  • การใส่เครื่องมือจัดฟันหรือเครื่องทันตกรรมต่าง ๆ ได้ไม่ดีพอ
  • การสูบบุหรี่
  • พฤติกรรมนอนกัดฟันหรือเคี้ยวฟัน เป็นต้น

ซึ่งคุณต้องปรับพฤติกรรมในการดูแลรักษาความสะอาดและใส่ใจในการพบทันตแพทย์บ่อยครั้ง

เจ็บเหงือก-เพราะ-เหงือกร่น

เจ็บเหงือกเพราะฟันปลอม

ฟันปลอมไม่ใช่ฟันธรรมชาติหากมีขนาดไม่เหมาะสมกับช่องปาก อาจก่อให้เกิดอาการเจ็บเหงือกเพราะฟันปลอม ได้ ซึ่งมีผู้ที่ใส่ฟันปลอมหลายรายไม่คุ้นชินหรือรู้สึกรำคาญกับฟันปลอมที่ทำออกมา 

เมื่อใส่แล้วจะ

  • รู้สึกระคายเคือง
  • ไม่สบายปาก
  • หรือรู้สึกถูกกดทับจนเจ็บก็อาจก่อให้เกิดอาการเหงือกอักเสบและทำให้รู้สึกเจ็บหรือปวดเหงือกได้ 

นอกจากนี้ หากคุณรักษาความสะอาดฟันปลอมได้ไม่ดีพอ ก็อาจทำให้เกิดเชื้อแบคทีเรียสะสมและเป็นสาเหตุของเหงือกอักเสบ ก็ทำให้คุณเกิดอาการเจ็บเหงือกจากฟันปลอมได้เช่นเดียวกัน

หากคุณพบว่าฟันปลอมของคุณเป็นสาเหตุของอาการ เจ็บเหงือกเพราะฟันปลอม แม้ว่าจะใส่มาเป็นระยะเวลานานแล้ว ให้นำฟันปลอมเข้าพบทันตแพทย์เพื่อทำการปรับแก้ทันที

เพื่อป้องกันการระคายเคืองเหงือกจนก่อให้เกิดอาการโรคทางเหงือกในภายหน้าได้ค่ะ

เจ็บเหงือก-เพราะฟันปลอม

ปวดเหงือกหลังถอนฟัน

หลังจากการถอนฟันหากคุณไม่ทำตามคำแนะนำจากทันตแพทย์ ก็ทำให้เกิดอาการ ปวดเหงือกหลังถอนฟัน ได้ โดยอาการปวดเหงือกจะเกิดขึ้นภาย 24 ชั่วโมงหลังจากการถอนฟัน

ซึ่งทั่วไปทันตแพทย์จะแนะนำให้คุณ...

  • รับประทานยาแก้ปวด
  • และอาหารอ่อน ๆ
  • รวมถึงกัดผ้าก๊อซ 1-3 ชั่วโมงหรือจนกว่าเลือดจะหยุดไหล
  • หลังจากนั้นประคบน้ำแข็ง
  • และห้ามบ้วนน้ำลาย
  • หรือกลั้วปากภายใน 24 ชั่วโมง เพื่อป้องกันอาการปวดเหงือกหลังจากการถอนฟันและภาวะเลือดไหลไม่หยุด

แต่หากคุณไม่ทำตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด ก็อาจส่งผลให้เกิด

  • การติดเชื้อบริเวณรอบ ๆ เบ้าฟัน
  • กระดูกข้างเคียงตาย
  • หรือลิ่มเลือดที่จะต้องแข็งตัวและปกคลุมบริเวณเบ้าเหงือกที่ถอนเกิดการละลายจนทำให้แผลไม่หายได้

ซึ่งอาการดังกล่าวนี้ก็ทำให้เกิดอาการ

  • ปวดเหงือกอย่างรุนแรง
  • บางรายปวดจนมีอาการปวดศรีษะ
  • เป็นไข้
  • และมีหนองบริเวณรอบ ๆ

อาการเหล่านี้หากไม่รีบพบทันตแพทย์ก็จะทำให้เกิดอาการ ปวดเหงือกหลังถอนฟัน ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพช่องปากของคุณค่ะ

ปวดเหงือก-หลังถอนฟัน

เหงือกเป็นแผล

อาการ ปวดเหงือก จาก เหงือกเป็นแผล ภายในช่องปากหรือที่หลายคนเรียกว่าแผลร้อนใน เป็นอาการที่แทบทุกคนเป็นบ่อยครั้งโดยมากสาเหตุเกิดจาก...

  • ความเครียด
  • ดื่มน้ำน้อย
  • หรือพักผ่อนไม่เพียงพอ

ทำให้เยื่อบุอ่อนมีอาการอักเสบขึ้นมาและเกิด เหงือกเป็นแผล ลึก เมื่อไปเสียดสีกับฟันหรืออาหารที่รับประทานเข้าไปก็ยิ่งทำให้เกิด เหงือกเป็นแผล มากขึ้นไปอีก สร้างความเจ็บปวดให้กับผู้ที่ เหงือกเป็นแผล อย่างมาก

นอกจากนี้ แผลในปากยังเกิดได้จากสาเหตุอื่น ๆ อีก เช่น

  • กัดโดนเหงือกในขณะเคี้ยวอาหาร
  • การใส่เครื่องมือทันตแพทย์อย่างไม่เหมาะสม
  • อุบัติเหตุที่ทำให้มีผลกระทบต่อเหงือก
  • หรืออุบัติเหตุที่มีผลต่อฟัน

ซึ่งสาเหตุเหล่านี้ก็ต้องทำการปรับและแก้ไขไปตามอาการ เหงือกเป็นแผล

โดยเฉพาะการรักษาสุขอนามัยในช่องปากหรือการพบทันตแพทย์ตามนัดหมายเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง เพื่อป้องกันไม่ให้อาการปวดเหงือกจาก เหงือกเป็นแผล เหล่านั้นเกิดเป็นอาการที่ร้ายแรงมากขึ้น

ปวดจาก-เหงือกเป็นแผล

ลูกปวดเหงือกเพราะฟันขึ้น

พ่อแม่ย่อมเคยเจอ ลูกปวดเหงือกเพราะฟันขึ้น ทุกคน เนื่องจาก กระดูกฟันของเด็กมีการเจริญเติบโตและพร้อมที่จะงอกออกมาจากเหงือกบาง ๆ ซึ่งฟันขึ้นนี้เป็นสิ่งที่สร้างความเจ็บปวดให้กับเด็กเป็นอย่างมาก

คุณจะสามารถสังเกต ลูกปวดเหงือกเพราะฟันขึ้น ได้จาก

  • เหงือกของเด็กมีสีซีด
  • เมื่อจับแล้วจะรู้สึกเหมือนตุ่มแข็ง ๆ
  • เด็กจะมีอาการร้องไห้งอแงอย่างไม่ทราบสาเหตุ
  • น้ำลายเยอะ
  • ชอบเอามือเข้าปาก
  • และบางรายจะมีอาการเลือดออกเล็กน้อย

แต่คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องตกใจกับอาการ ลูกปวดเหงือกเพราะฟันขึ้น เหล่านี้นะคะ เพราะคุณสามารถช่วยเหลือเด็กได้เมื่อมีอาการปวดเหงือกจากฟันขึ้นได้โดยการ

  • หายางกัด จุกหลอก ผักหรือผลไม้นิ่ม ๆ เย็น ๆ ให้เด็กกัด
  • นวดเหงือก โดยการใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำเย็น แล้วค่อย ๆ นวดเบา ๆ บริเวณเหงือกที่ฟันจะขึ้น
  • ใช้เจลบรรเทาอาการปวดเหงือก ทาบาง ๆ ที่เหงือกตามเภสัชกรหรือกุมารแพทย์สั่ง

ความเย็นจะช่วยให้รู้สึกชาและการกัดจะช่วยให้เหงือกแยกตัวออกจากกันง่ายขึ้น ทั้งนี้ ไม่ควรจะเย็นจัดจนเกินไปเพราะอาจทำให้รู้สึกปวดมากกว่าเดิมได้

หรือหาก ลูกปวดเหงือกเพราะฟันขึ้น จนมีอาการร้องไห้งอแงหนักมาก ๆ และมีไข้ขึ้นสูงกว่าปกติ คุณไม่ควรนิ่งนอนใจและให้รีบพาไปพบกุมารแพทย์ทันทีค่ะ

ลูกปวดเหงือก-เพราะฟันขึ้น

คุณมีปัญหาเหงือกอักเสบไหม?
คุณสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ :


อาการปวดเหงือก เจ็บเหงือก

สำหรับ อาการปวดเหงือก เจ็บเหงือก สามารถเกิดได้หลายตำแหน่ง หลายคนอาจสงสัยว่าแล้ว อาการปวดเหงือก เจ็บเหงือก แต่ละตำแหน่งนั้นแตกต่างกันอย่างไร? แล้วสาเหตุ อาการปวดเหงือก ในแต่ละตำแหน่งนั้นเกิดจากอะไรบ้าง? เราไปดูกันเลยค่ะ

อาการเจ็บเหงือก-ปวดเหงือก

เจ็บเหงือกด้านบน

โดยมากอาการ เจ็บเหงือกด้านบน จะเกิดจากอาการของเหงือกอักเสบ   ซึ่งมีสาเหตุเกิดมาจาก

  • การสะสมของเชื้อแบคทีเรียจนทำให้มีหินปูน
  • หรือคราบพลัค ซึ่งเชื้อโรคเหล่านี้มีสารพิษจนทำให้เกิดการระคายเคืองและทำลายเนื้อเยื่อเหงือกจนเกิดอาการเจ็บเหงือกขึ้นมา
  • เหงือกร่น โดยเหงือกด้านบนจะพบอาการเหงือกร่นจนถึงรากฟันได้บ่อยที่สุด เนื่องจาก เป็นส่วนเหงือกที่ค่อนข้างบางทำให้สึกหรอได้ค่อนข้างเร็วกว่า ซึ่งหากคุณยิ่งแปรงฟันแรงเท่าใด เหงือกส่วนบนก็จะยิ่งร่นเร็วขึ้น
  • อีกหนึ่งสาเหตุก็คือเป็นแผลร้อนใน อย่างที่บอกว่าเหงือกด้านบนจะมีความบางกว่าจึงง่ายต่อการถูกขูดขีดมากที่สุด

ดังนั้น คุณควรดูแลรักษาเหงือกด้านบนให้ดี เพื่อไม่ให้เกิดอาการ เจ็บเหงือกด้านบน ได้

เจ็บเหงือกด้านบน

เจ็บเหงือก ปวดเหงือก ฟันกราม

อาการ เจ็บเหงือก ปวดเหงือก ฟันกราม เป็นสัญญาณเตือนของอาการฟันผุ เนื่องจาก ฟันกรามเป็นส่วนที่

  • ใช้ในการบดเคี้ยว
  • มีซอกฟันเยอะ
  • และมีความลึก จึงทำให้การดูแลทำความสะอาดเป็นไปได้ค่อนข้างยากกว่าฟันส่วนหน้า และทำให้เป็นแหล่งสะสมคราบพลัคมากที่สุด

นอกจากอาการฟันผุที่เป็นสาเหตุให้ เจ็บเหงือก ปวดเหงือก ฟันกราม แล้ว ยังสามารถเกิดจาก

  • ฟันน้ำนมขึ้น
  • ฟันแท้ขึ้น
  • และส่วนที่ทำให้เกิดอาการเจ็บหรือปวดเหงือกมากที่สุด ก็คือเมื่อตอนที่ฟันกรามซี่สุดท้ายขึ้น เพราะเป็นส่วนที่งอกออกมาได้ยากที่สุดและยังเป็นบริเวณที่ทำความสะอาดได้ยากที่สุดเช่นเดียวกัน

คุณจึงจำเป็นต้องทำความสะอาดในส่วนฟันกรามให้ดี เพื่อลดความเสี่ยงของโรคฟันผุและเหงือกอักเสบ ซึ่งทำให้ เจ็บเหงือก ปวดเหงือก ฟันกราม ขึ้นได้

เจ็บเหงือก-ปวดเหงือก-ฟันกราม

เจ็บเหงือกเลือดออก

เมื่อมีอาการ เจ็บเหงือกเลือดออก ตามไรฟันหรือเหงือกเป็นจำนวนมาก ก็สามารถทำให้เกิดอาการเจ็บเหงือกหลังจากเลือดออกได้เช่นเดียวกัน

โดยเลือดออกตามไรฟันจำนวนมากเป็นสัญญาณบ่งบอกว่า เหงือกของคุณกำลังพบเจอกับปัญหาเหงือกอักเสบที่เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อยที่สุดในผู้ใหญ่

นอกจากนี้ อาการ เจ็บเหงือกเลือดออก แลัวยังสามารถเกิดได้จากอีกหลายสาเหตุ เช่น

  • ผู้ที่มีเลือดออกผิดปกติ
  • มีภาวะฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
  • การแปรงฟันหรือใช้ไหมขัดฟันแรงจนเกินไป
  • การติดเชื้อบางอย่าง
  • การใส่เครื่องมือทันตกรรมที่ไม่พอดีหรือเหมาะสมกับช่องปาก
  • ฟันขึ้นในเด็ก

และยังมีอีกหลากหลายสาเหตุที่ทำให้ เจ็บเหงือกเลือดออกในเวลาเดียวกัน ซึ่งการแก้ปัญหาก็ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่พบเจอ

อย่างไรก็ตาม การดูแลรักษาและทำความสะอาดช่องปากอย่างถูกวิธีก็จะช่วยลดการ เจ็บเหงือกเลือดออก ได้ค่ะ

เจ็บเหงือก-เลือดออก

เจ็บเหงือกระหว่างฟัน

อาการ เจ็บเหงือกระหว่างฟัน เกิดจาก

  • คราบพลัค
  • หรือหินปูนไปเกาอยู่ระหว่างชอกฟันเป็นจำนวนมาก จนทำให้เกิดการสะสมจนไปดันส่วนเหงือกและส่งผลให้เกิดอาการเจ็บหรือปวดบริเวณที่มีการสะสมของสิ่งสกปรก
  • อีกหนึ่งสาเหตุที่พบเจอกันบ่อย ๆ และทำให้เกิดอาการเจ็บหรือปวดเหงือกระหว่างซอกฟันได้ ก็คือการที่เศษอาหาร ก้างปลา หรือกระดูกของเนื้อสัตว์เข้าไปติดหรือทิ่มระหว่างซอกฟัน

    ซึ่งหากเป็นในกรณีนี้เพียงแค่คุณแปรงฟันหรือใช้ไหมขัดฟันก็จะหลุดออกโดยง่ายดาย
เจ็บเหงือกระหว่างฟัน

แปรงฟันแล้วเจ็บเหงือก

หากคุณพบว่า แปรงฟันแล้วเจ็บเหงือก อาจเป็นไปได้ว่าคุณแปรงฟันแรงหรือใช้แปรงที่มีขนแข็งจนเกินไป

หรือหากคุณปรับเปลี่ยนวิธีการแปรงฟันหรือแปรงสีฟันแล้ว ยังคงพบว่ามีอาการ แปรงฟันแล้วเจ็บเหงือก นั่นอาจเกิดจาก

  • เนื้อเยื่อเหงือกของคุณเริ่มอ่อนแอ
  • อาจมีอาการเหงือกอักเสบระยะแรกร่วมด้วย ซึ่งยังสามารถทำการรักษาเพื่อให้เหงือกกลับมาอยู่ในสภาพเดิมได้

หากคุณเข้ารับการรักษากับทันตแพทย์ทันทีเพื่อขอรับคำแนะนำหรือการขูดหินปูนเบื้องต้น ก็จะทำให้ไม่เกิดอาการ แปรงฟันแล้วเจ็บเหงือก ค่ะ

แปรงฟันแล้วเจ็บเหงือก

ปวดเหงือกด้านในสุด อ้าปากไม่ได้ทำยังไงดี

ถ้าเกิดอาการ ปวดเหงือกด้านในสุด อ้าปากไม่ได้ ให้คุณรีบพบทันตแพทย์ทันที 

เนื่องจาก อาจมีสาเหตุเกิดจากฟันคุดที่งอกขึ้นผิดลักษณะทำให้เกิดการเบียดกับฟันข้าง ๆ และทำให้รู้สึก ปวดเหงือกด้านในสุด อ้าปากไม่ได้

วิธีทางแก้ไขก็คือ

  • พบทันตแพทย์
  • และทำการผ่าฟันคุดด้านในออก
  • หลังจากที่แผลหายดีนั้นให้ทันตแพทย์ทำความสะอาดฟัน
  • ขูดหินปูน
  • และอุดฟันให้ตามลำดับ

เพื่อแก้ไขอาการ ปวดเหงือกด้านในสุด อ้าปากไม่ได้ จนทำให้คุณสามารถอ้าปากได้ตามปกติ

ปวดเหงือกด้านในสุด-อ้าปากไม่ได้ทำยังไงดี

ปวดเหงือกกี่วันหาย

เมื่อแก้ปัญหาที่เป็นต้นเหตุของอาการปวดเหงือกได้แล้ว จะใช้เวลาอีกเพียง 1-2 วันก็จะหายจากอาการปวดเหงือก เว้นเสียแต่ว่าเป็นอาการปวดเหงือกที่เกิดจากฟันคุด

ซึ่งนั่นหมายความว่าคุณจะต้องผ่าตัดนำฟันคุดออกเพื่อแก้ปัญหาการปวดเหงือก โดยหลังจากผ่าฟันคุดบางรายอาจใช้เวลา 3 – 4 วันจึงจะหายปวด

แต่โดยมากทันตแพทย์จะแนะนำให้รับประทานยาแก้ปวดและประคบจนกว่าจะหายปวดหรือเลือกหยุดไหล อย่างไรก็ตามเมื่อเริ่มพบว่ามีอาการปวดเหงือก ก็ควรจะรีบไปพบทันตแพทย์ทันที เพื่อทำการรักษาต่อไป

ปวดเหงือกกี่วันหาย

คุณมีปัญหาเหงือกร่นไหม?
คุณสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ :


วิธีรักษาอาการปวดเหงือก แก้เจ็บเหงือก ปวดฟัน

วิธีรักษาอาการปวดเหงือก แก้เจ็บเหงือก ปวดฟัน นั้นมีวิธีการรักษาด้วยตนเองอยู่บ้าง หากอาการไม่รุนแรงมากนัก ซึ่ง วิธีรักษาอาการปวดเหงือก แก้เจ็บเหงือก ปวดฟัน ด้วยตนเองมีดังนี้

วิธีรักษาอาการปวดเหงือก-แก้เจ็บเหงือก-ปวดฟัน

แก้ด้วย สมุนไพรแก้ปวดฟัน เหงือกบวม

รู้หรือไม่ว่าสมุนไพรที่คุณปลูกอยู่ในบ้านสามารถทำเป็น สมุนไพรแก้ปวดฟัน เหงือกบวม เพื่อบรรเทาอาการเหงือกบวมหรือช่วยลดความเสี่ยงของโรคฟันผุได้ โดยการใช้ สมุนไพรแก้ปวดฟัน เหงือกบวม มาช่วยบรรเทาอาการปวดฟันหรือเหงือกบวมนั้นมีหลากหลายสูตรตามลักษณะของ สมุนไพรแก้ปวดฟัน เหงือกบวม ชนิดนั้น ๆ เช่น

  • น้ำมันกานพูล มีฤทธิ์เป็นยาชาเฉพาะที่ตามธรรมชาติ สามารถบรรเทาอาการเจ็บหรือปวดได้เป็นอย่างดี เพียงหยด 2 – 3 หยดลงบนสำลีและถูลงบนฟันหรือเหงือกที่ปวดเบา ๆ
  • เกลือก็เป็นอีกหนึ่งสมุนไพรในการช่วยลดอาการปวดฟันหรือเหงือกบวมได้เช่นเดียวกัน เพราะเกลือมีฤทธิ์ในการช่วยยับยั้งการสะสมของคราบแบคทีเรีย สามารถทำได้โดยใช้เกลือ 2 ช้อนขาผสมกับน้ำอุ่น 1 ถ้วย
  • น้ำมันเปปเปอร์มิ้นต์มีคุณสมบัติในการต้านเชื้อแบคทีเรีย จึงสามารถช่วยลดอาการปวดฟันได้ เพียงหยดน้ำมันเปเปอร์มิ้นต์ลงบนสำลี 2 – 3 หยดลงบนสำลีแล้วนำไปทาในบริเวณที่ปวด

เท่านี้ คุณก็สามารถทำ สมุนไพรแก้ปวดฟัน เหงือกบวม เพื่อแก้ไขปัญหาปวดฟัน เหงือกบวม ได้แล้ว

แก้ด้วย-สมุนไพรแก้ปวดฟัน-เหงือกบวม

แก้ปวดเหงือกด้วยการ กินพารา

หลังจากที่คุณพบทันตแพทย์แล้วจะแนะนำให้รับประทานยาพาราเซตามอล เพื่อลดอาการปวดหรือเจ็บเหงือกแบบชั่วคราวเพื่อให้คุณสามารถพักผ่อนหรือทำกิจกรรมประจำวันได้

โดยการรับประทานยาพาราเซตามอลแก้ปวดเหงือกควรอยู่ภายใต้การดูแลของทันตแพทย์ และเมื่อรับประทานยาติดต่อกันหลายวันแล้วไม่รู้สึกดีขึ้น ให้รีบเข้าพบทันตแพทย์ทันทีค่ะ

แก้ปวดเหงือกด้วยการ-กินพารา

ปวดเหงือก เจ็บเหงือกด้านในสุด กินยาอะไร

หลายคนอาจสงสัยว่า ปวดเหงือก เจ็บเหงือกด้านในสุด กินยาอะไร ซึ่งโดยทั่วไปทันตแพทย์จะแนะนำให้คนไข้ที่ ปวดเหงือก เจ็บเหงือกด้านในสุด กินยา พาราเซตามอลหรือไอบูรโพรเฟ่น เพื่อบรรเทาอาการเจ็บหรือปวด และยังป้องกันไม่ให้เกิดอาการข้างเคียงอย่างเช่น

  • เป็นไข้
  • หรืออาการบวม

หลังจากนั้นให้ทำการ

  • พักผ่อน
  • ดื่มน้ำมาก ๆ
  • และไม่ทำกิจกรรมหนักที่จะมีผลกระทบกับเหงือกและฟัน
  • รวมถึงรับประทานอาหารอ่อน ๆ
  • งดอาหารรสจัด
  • งดน้ำอัดลม
  • งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • และอาหารหมักดอง

เพียงเท่านี้คุณก็สามารถลดอาการ ปวดเหงือก เจ็บเหงือกด้านในสุด ด้วยกินยา ที่ไม่แรงมากได้แล้วค่ะ

คุณมีปัญหาเหงือกอักเสบไหม? กดที่นี่

ปวดเหงือก-เจ็บเหงือกด้านในสุด-กินยาอะไร

สรุป

อาการปวดหรือเจ็บเหงือกนั้นแม้ว่าจะเป็นอาการที่เกิดขึ้นได้ตามธรรมชาติในบางกรณี เช่น ฟันขึ้น แต่สำหรับอีกหลายกรณีนั้นไม่ว่าจะเป็นอาการปวดจากฟันคุด เหงือกร่นและอักกเสบ หรือการใส่เครื่องมือจัดฟันที่ไม่เหมาะสมหรือถูกต้อง

อาการเจ็บหรือปวดเหงือกควรได้รับการรักษาจากทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างทันท่วงที พร้อมทั้งทำตามคำแนะนำจากทันแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันอาการอื่น ๆ ที่สามารถเกิดขึ้นตามมาในภายหลังได้

อย่างไรก็ตามการดูแลรักษาอาการปวดหรือเจ็บเหงือกด้วยตนเองก็ควรจะพิจารณาเป็นราย ๆ ไป เพราะถ้าหากคุณมีอาการที่รุนแรงก็ไม่ควรจะนิ่งนอนใจหรือรักษาด้วยตนเองที่บ้าน และไปพบทันตแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง

นอกจากนี้ การดูแลตนเองก็เป็นเรื่องสำคัญที่จะป้องกันอาการเจ็บหรือปวดเหงือก โดยการลดความเครียด พักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 1.5 – 2 ลิตรทุกวัน

รับประทานอาหารที่มีประโยชน์อย่างสม่ำเสมอ และหมั่นพบทันตแพทย์ทุก 6 เดือนหรือ 1 ปี หรือตามความจำเป็น ทั้งนี้ ก็เพื่อให้สุขภาพเหงือกและฟันของคุณแข็งแรงและอยู่กับคุณไปอีกยาวนานโดยที่ไม่ต้องทนเจ็บหรือปวดเลยค่ะ

แหล่งที่มา : sanook , pobpad , synphaet, mahidol

ท่านสามารถติดต่อปรึกษาแพทย์เฉพาะทางได้ที่นี่!!

ต้องการปรึกษาหรือทำการนัด?

ท่านสามารถติดต่อเราเพื่อนัดปรึกษาก่อนได้โดยไม่มีเงื่อนไข

สำหรับ สาขาตรงข้ามศิริราช และ สาขาตรงข้ามพาต้า ปิ่นเกล้า
กรุณากดที่ปุ่มด้านล่าง :


และสำหรับ
Toothland dental clinic สาขาพุทธมณฑล สาย1
กรุณากดที่ปุ่มด้านล่าง :

ถ้ารู้สึกว่าบทความนี้มีประโยชน์ อย่าลังเลที่จะ คลิกแชร์ ให้เพื่อนๆ และคนรู้จักได้รับรู้....