เหงือกอักเสบ มักมีอาการ ปวดฟัน แก้มบวม เกิดจากการ มีหนอง มีวิธีรักษา เช่น กินยาปฏิชีวนะ อมเกลือ ใช้ยาสีฟันรักษาเหงือกอักเสบด้วยตัวเอง หากไม่ทำอะไรปล่อยเรื้อรังอาจถึงขั้นต้องถอนฟันเลย เพราะงั้นจะทํายังไงให้หายนั้นมาดูที่บทความนี้เลย!
โรคเหงือกอักเสบ (Gingivitis) เป็นอีกหนึ่งโรคทางทันตกรรมที่สามารถพบได้ในทุกวัย เพราะอาการของเหงือกอักเสบในบางครั้งก็ไม่ได้ชัดเจนมากนักเพียงแค่มีอาการระคายเคืองเล็กน้อย
เมื่อรู้ตัวอีกทีก็เมื่อคุณไปพบทันตแพทย์และพบว่ามีอาการเหงือกอักเสบ หลายคนจึงไม่ได้ระมัดระวังกับอาการเหงือกอักเสบมากนักจนกระทั่งลุกลามและสูญเสียฟันแบบไม่สามารถรักษาได้
เหงือกจึงเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งในช่องปากที่คุณควรดูแลรักษาเป็นอย่างดี แต่เมื่อคุณพบอาการผิดปกติของเหงือก คุณจะมีวิธีสังเกตอาการ ดูแล รักษา และป้องกันอย่างไรให้เหงือกของคุณกลับมามีสุขภาพดีได้นั้น เรามีคำตอบมาให้คุณแล้วค่ะ
โรคเหงือกอักเสบเกิดจาก สาเหตุอะไรได้บ้าง
หลายคนสงสัยว่า โรคเหงือกอักเสบเกิดจาก สาเหตุอะไรได้บ้าง ซึ่งในความเป็นจริงโรคเหงือกอักเสบสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ
โดยสาเหตุหลักเกิดจากการดูแลสุขภาพฟันไม่ดีเพียงพอหรือไม่ได้เข้าพบทันตแพทย์ตามนัดหมาย ทำให้เกิดอาการลุกลามจากฟันไปถึงเหงือกทำให้เกิดอาการอักเสบขึ้นมา โรคเหงือกอักเสบเกิดจาก สาเหตุอะไรได้บ้างนั้นเราแบ่งออกเป็น ดังนี้
เหงือกอักเสบจากฟันคุด
สำหรับ เหงือกอักเสบจากฟันคุด เป็นหนึ่งในสาเหตุหลัก เนื่องจาก ฟันคุดคือฟันที่เกินขึ้นมากจากฟันปกติ โดยตัวฟันคุดงอกออกมาจากด้านในสุดและงอกขึ้นมาในลักษณะเบียดกับฟันกราม
หรือในบางครั้งฟันคุดอาจโผล่ออกมาจากเหงือกไม่หมด ซึ่งลักษณะการงอกของฟันเช่นนี้อาจทำให้มีเศษอาหารเข้าไปติดจนเกิดการสะสมของเชื้อแบคทีเรียและคราบพลักระหว่างช่องฟันหรือเหงือกที่ปกคลุมฟันคุดอยู่บางส่วน ทำให้ เหงือกอักเสบจากฟันคุด ได้
นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมทันตแพทย์จึงเลือกที่จะผ่าฟันคุดออก เพื่อไม่ให้มีอาการของโรคทันตกรรมต่าง ๆ ตามมาในภายหลังได้
เหงือกอักเสบจากฟันกราม
สำหรับ เหงือกอักเสบจากฟันกราม เป็นอีกหนึ่งอาการที่พบเจอบ่อยเช่นเดียวกัน เพราะเราใช้ฟันกรามในการบดเคี้ยวอาหาร จึงทำให้เกิดการสะสมของเชื้อโรคและคราบสกปรกต่าง ๆ ได้ง่าย โดยเฉพาะในช่วงที่ฟันกรามซี่สุดท้ายขึ้น ก็เป็นช่วงที่จะต้องดูแลให้ดีเป็นพิเศษ
เนื่องจาก ฟันซี่ด้านในสุดจะงอกออกมาได้ยาก และทำความสะอาดได้ยากกว่าฟันซี่อื่น ๆ เศษอาหารที่ไปสะสมอยู่อาจทำให้เกิดเชื้อแบคทีเรียและคราบพลักมากจนเกินไป ทำให้เหงือกบวมแดงและมีเลือดออกมากเมื่อเวลาแปรงฟัน จนสุดท้ายแล้วทำให้มีอาการ เหงือกอักเสบจากฟันกราม ตามมา ซึ่งนั่นไม่ใช่สัญญาณที่ดีต่อสุขภาพช่องปากเลยค่ะ
เหงือกอักเสบจากสาเหตุอื่นๆ
นอกจากนี้แล้วยังมีเหงือกอักเสบจากสาเหตุอื่น ๆ ได้อีก ที่ทำให้เกิดการสะสมของเชื้อโรค คราบพลัก และคราบหินปูนตามซอกเหงือกและฟัน ซึ่งอาการเหงือกอักเสบจากสาเหตุอื่น ๆ นั้นก็มีทีมาที่ไปแตกต่างกันออกไปโดยที่คุณอาจไม่รู้ก็เป็นได้ เราสามารถแบ่งสาเหตุออกเป็น ดังนี้
- เหงือกอักเสบจากการสูบบุหรี่ ในบุหรี่จะมีสารนิโคตินซึ่งทำให้เกิดคราบพลักและหินปูนเกาะตามซอกเหงือกและฟันได้ สารเหล่านี้จะมีการสะสมอยู่ในช่องปากเรื่อย ๆ หากคุณไม่พบทันตแพทย์หรือดูแลความสะอาดได้เพียงพอ ก็ทำให้เกิดเหงือกอักเสบได้
- เหงือกอักเสบจากการตั้งครรภ์ มีประจำเดือน หรือมีการใช้ยาคุมกำเนิดอย่างต่อเนื่อง เนื่องจาก ฮอร์โมนมีการเปลี่ยนแปลงมากและรวดเร็ว ทำให้ร่างกายตอบสนองต่อเชื้อโรคโดยเฉพาะในช่องปากได้อย่างรวดเร็ว
- เหงือกอักเสบจากการรับประทานยาบางชนิด เช่น ยากดภูมิคุ้มกัน ยากันภาวะชัก เป็นต้น ซึ่งยาเหล่านั้นอาจส่งผลต่อสุขภาพเหงือกและฟันโดยตรง โดยมากแพทย์ผู้จ่ายยาจะให้คำแนะนำในกรณีนี้อย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งคำแนะนำในการเข้าพบทันตแพทย์ตามเวลา
- เหงือกอักเสบจากการใส่เครื่องมือทันตกรรมอย่างฟันปลอมหรือเครื่องมือจัดฟันไม่เหมาะสมหรือถูกวิธี ทำให้มีการกดทับหรือเสียดสีจากเครื่องมือเหล่านี้มากจนเกินไป จนเกิดอาการบวมแดงและอักเสบในที่สุด
- เหงือกอักเสบจากการขาดสารอาหารบางชนิด โดยเฉพาะวิตามิน B และ C ซึ่งเป็นวิตามินที่ช่วยในการบำรุงเหงือกและฟัน รวมถึงช่วยลดและซ่อมแซมการสึกหรอของกระดูกและเนื้อเยื่อ เมื่อคุณขาดวิตามินเหล่านี้ก็ทำให้เกิดอาการเหงือกอักเสบได้ง่ายขึ้น
- เหงือกอักเสบจากภาวะโรคเหงือกและปริทันต์ต่าง ๆ เช่น โรคมะเร็งในช่องปาก มะเร็งเหงือก ฟันผุ เป็นต้น โดยโรคทางช่องปากจะค่อนข้างไวต่อเชื้อแบคทีเรียที่สะสมอยู่ในช่องปาก ทำให้เหงือกมีอาการอักเสบอย่างรวดเร็วและเห็นได้ชัด
ไม่ว่าโรคเหงือกอักเสบจะเกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้างนั้น ก็ล้วนแต่ต้องอาศัยการดูแลเอาใจใส่ความสะอาดของช่องปากทั้งสิ้น เพื่อให้คุณไม่ต้องเจ็บปวดกับอาการเหงือกอักเสบอย่างรุนแรงได้
และเมื่อคุณมีปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคเหงือกอักเสบ ก็ควรจะเข้าพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพช่องปากอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ
เหงือกอักเสบ อาการ มีอะไรบ้าง นอกจากปวดฟัน
หลายคนที่ไม่เคยเป็นโรคเหงือกอักเสบก็คงจะไม่ทราบว่าเมื่อเกิดโรค เหงือกอักเสบ อาการ จะมีอะไรบ้างนอกจาก เหงือกอักเสบจากการปวดฟัน ซึ่งอาการของเหงือกอักเสบนั้นมีหลากหลายแบบเลยค่ะ ขึ้นอยู่กับว่าระดับของโรคเหงือกอักเสบนั้นรุนแรงแค่ไหน
และแน่นอนว่าอาการของเหงือกอักเสบนั้นไม่ได้มีเพียงแค่อาการปวดเท่านั้น แต่นอกจาก เหงือกอักเสบจากการปวดฟัน นั้น อยากให้คุณลองสังเกตอาการดังนี้ไปด้วยกันค่ะ
- มีอาการระคายเคืองเหงือกกว่าปกติ โดยเหงือกจะมีอาการนุ่ม บวม และแดง หรือในบางรายอาจมีอาการแดงจนช้ำ
- เลือดออกหลังจากแปรงฟันหรือใช้ไหมขัดฟัน
- สังเกตเห็นว่าฟันยาวกว่าปกติหรือเหงือกร่น
- ฟันไม่อยู่กับที่หรือมีการขยับเขยื้อนเมื่อเคี้ยวอาหาร
- เหงือกมีหนองไหลจากช่วงบริเวณร่องเหงือก
- มีกลิ่นปากหรือมีรสชาติบางอย่างที่ผิดปกติภายในช่องปาก
จะเห็นได้ว่าเหงือกอักเสบอาการมีหลายอย่างนอกจากอาการปวดเหงือกหรือฟัน บางอาการคุณอาจไม่เคยสังเกตหรือรู้สึกมาก่อน ซึ่งนั่นจึงเป็นสาเหตุว่าทำไมโรคเหงือกอักเสบจึงเกิดขึ้นได้ง่าย และกว่าคุณจะรู้ตัวก็อาจสายจนเกินไปค่ะ
วิธีการรักษาเหงือกอักเสบ ทํายังไงให้หาย
อีกหนึ่งคำถามที่ถามกันอยู่บ่อยครั้งเกี่ยวกับวิธีการรักษาเหงือกอักเสบ ทำยังไงให้หายจากเหงือกอักเสบทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
ซึ่งในความเป็นจริงวิธีการรักษาเหงือกอักเสบให้หายนั้นไม่ยากมากและสามารถดูแลรักษาเองที่บ้านได้ หากอาการไม่ได้รุนแรงมากนัก แล้วเราจะมีวิธีการรักษาเหงือกอักเสบหรือจะทำยังไงให้หายจากเหงือกอักเสบได้ สามารถทำได้ดังนี้ค่ะ
- เข้าพบทันตแพทย์เพื่อตรวจเช็คฟันและเหงือกของคุณ เพื่อให้ทันตแพทย์ทำความสะอาดฟันและเหงือกของคุณในจุดที่คุณไม่สามารถทำความสะอาดเองได้ รวมถึงหากตรวจพบโรคทางทันตกรรมอื่น ๆ ก็จะได้ทำการแก้ไขต่อไป
- เลือกใช้แปรงสีฟันที่มีขนนุ่ม และเปลี่ยนแปรงสีฟันใหม่ทุก 2 – 3 เดือน
- แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง หรือหากเป็นไปได้ให้แปรงฟันทุกครั้งหลังรับประทานอาหาร
- ไม่แปรงฟันแรง ๆ ให้วางแปรงสีฟันทำมุม 45 องศาจากตัวฟัน และแปรงโดยการปัดขึ้นลงช้า ๆ
- ทำความสะอาดเพิ่มเติมด้วยไหมขัดฟันและน้ำยาบ้วนปาก เพื่อให้การทำความสะอาดทั่วถึงมากยิ่งขึ้น
- พบทันตแพทย์ทุก 6 เดือนเพื่อทำการตรวจสภาพช่องปากและฟัน รวมถึงทำการขูดหินปูนอย่างสม่ำเสมอ
เหงือกอักเสบกี่วันหาย
เมื่อมีอาการเหงือกอักเสบแล้ว ก็มักมีคำถามตามมาว่า เหงือกอักเสบกี่วันหาย โดยปกติหากอาการไม่รุนแรงมากนักใช้เวลา 1 – 2 สัปดาห์ก็สามารถหายได้ภายใต้การดูแลของทันตแพทย์ในการขูดหินปูนและกำจัดคราบต่าง ๆ หรืออาจมีการรับประทานยาฆ่าเชื้อควบคู่ไปด้วย
แต่หากมีอาการรุนแรงมากกว่านั้น ก็ต้องขึ้นอยู่กับว่าสาเหตุของอาการเหงือกอักเสบนั้นเกิดจากอะไร และระยะเวลาในการฟื้นฟูสภาพเหงือกก็จะแตกต่างกันออกไปด้วย เช่น
- หากอาการเกิดจากเหงือกร่น ทันตแพทย์ก็ต้องทำการปลูกถ่ายเนื้อเยื่อหรืออาจมีการปลูกกระดูกเพิ่มเติมซึ่งอาการเจ็บปวดหลังจากการผ่าตัดก็อาจกินระยะเวลาถึง 3 – 4 สัปดาห์
- หากเหงือกอักเสบจากฟันคุด ทันตแพทย์ก็จะทำการผ่าฟันคุดออก โดยแผลนั้นจะสามารถหายได้ภายใน 1 สัปดาห์ภายใต้การดูแลของทันตแพทย์
- หากมีสาเหตุมาจากโรคร้ายแรงทางช่องปาก เช่น โรคมะเร็ง ทันตแพทย์ก็ต้องตัดชิ้นเนื้อเพื่อส่งวินิจฉัยและปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านมะเร็งวิทยา เพื่อทำเคมีบำบัดต่อไป ซึ่งกรณีนี้จะใช้เวลายาวนานและไม่สามารถกำหนดระยะเวลาได้
จะเห็นว่า เหงือกอักเสบกี่วันหาย นั้น ขึ้นอยู่กับหลากหลายปัจจัยและสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคเหงือกอักเสบ
ทางที่ดีและปลอดภัยที่สุดคุณควรเข้าพบทันตแพทย์เพื่อให้วินิจฉัยหาสาเหตุของโรคเหงือกอักเสบทันที ทันตแพทย์หรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะทำการประเมินว่าเหงือกอักเสบที่เกิดขึ้นกับคุณนั้นกี่วันจึงจะหายได้
อยากตัดเหงือกเพื่อแก้โรคเหงือกไหม?
คุณสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ :
วิธีรักษาเหงือกอักเสบด้วยตัวเอง
วิธีการรักษาเหงือกอักเสบด้วยตัวเอง นั้นสามารถทำได้ไม่ยาก แต่ก็จะยังมีหลายคนสงสัยว่าหากไม่เข้าพบทันตแพทย์บ่อย ๆ แล้วจะมี วิธีการรักษาเหงือกอักเสบด้วยตัวเอง หรือไม่?
เหงือกอักเสบ กินยาปฏิชีวนะอะไร? รักษาได้ไหม?
หลายคนเมื่อเกิดอาการเหงือกอักเสบก็มักไปที่ร้านขายยาด้วยตนเอง และให้เภสัชกรแนะนำว่าเหงือกอักเสบกินยาปฏิชีวินะอะไร? และรักษาได้ไหม?
อันที่จริงแล้วเมื่อคุณพบว่ามีอาการเหงือกอักเสบไม่ควรจะหาซื้อยามารับประทานด้วยตัวเองทันที ควรจะเข้าพบทันตแพทย์เพื่อวินิจฉัยถึงสาเหตุเสียก่อน และทันตแพทย์จะเป็นผู้สั่งยาให้รับประทานตามโดสที่คุณควรจะได้รับ
โดยจะการรักษาเหงือกอักเสบจะต้องกินยาปฏิชีวะอะไรและจะรักษาได้ไหม? ต้องขึ้นอยู่กับระดับอาการและระดับความแรงของยาจะต้องสัมพันธ์กัน ดังนี้
- ระดับอาการไม่รุนแรง แต่มีอาการปวดเล็กน้อยก็จะเป็นพาราเซตามอลครั้งละ 2 เม็ดทุก 4 – 6 ชั่วโมง สำหรับผู้ใหญ่ หรือไอบูโพรเฟน 400mg วันละ 3 ครั้งหลังอาหาร
- หากมีอาการระดับติดเชื้อและมีหนอง ทันตแพทย์ก็จะสั่งให้รับประทาน Amoxicillin หรืออะม็อกซิล 500mg ครั้งละ 1 – 2 เม็ด วันละ 3 ครั้ง และจะต้องใช้ให้ครบโดสคือรับประทานติดต่อกัน 5 วัน และยาชนิดนี้ไม่ควรซื้อมารับประทานเอง
- และเมื่อมีอาการรุนแรงอาจต้องใช้ยาต้านจุลชีพกลุ่มเมโทรนิดาโซล (Metronidazole) 200 – 250mg ครั้งละ 1 เม็ด วันละ 3 ครั้งหลังอาหารทันที เช่นเดียวกันยาชนิดนี้ไม่ควรซื้อมารับประทานเองและจะต้องอยู่ภายใต้การดูแลของทันตแพทย์ เพราะจะต้องรับประทานให้ครบโดสเช่นเดียวกับยาปฏิชีวนะทั่วไป
เหงือกอักเสบ อมเกลือ ฆ่าเชื้อในปาก หายไหม?
อีกหนึ่งวิธีเบื้องต้นที่หลายคนมักนึกขึ้นได้ก็คือ เหงือกอักเสบ อมเกลือ ฆ่าเชื้อในปากหายไหม? คำตอบคือสามารถทำได้ เพราะเกลือจะมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
โดยผสมเกลือ 1 ช้อนชาเข้ากับน้ำอุ่น 8 ออนซ์ และกลั้วปากเป็นเวลา 30 วินาที ให้ทำ 2 – 3 ครั้งต่อวัน ก็จะช่วยลดอาการเหงือกบวมอักเสบลงได้
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเหงือกอักเสบอมเกลือฆ่าเชื้อในปากหายได้ แต่ก็ควรไปพบทันตแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงและทำการรักษาให้ถูกวิธีต่อไป เพราะเราไม่สามารถรู้ได้ว่าอาการที่เกิดอยู่นั้นจะรุนแรงมากเพียงใด
เมื่อ เหงือกอักเสบ อมเกลือ ฆ่าเชื้อในปาก หายได้ก็จริง แต่เป็นการลดอาการปวดเส้นประสาทได้ชั่วคราวเท่านั้น ส่วนสิ่งที่เป็นสาเหตุของอาการเหงือกอักเสบนั้นยังอยู่ เช่น ฟันผุ เหงือกร่น คราบหินปูนที่ฝังแน่น และอื่น ๆ อีกมากมาย และอาจสร้างปัญหาเกี่ยวกับโรคเหงือกและฟันเพิ่มขึ้นได้ในภายหลัง
วิธีรักษาโรคเหงือกโดยทันตแพทย์
วิธีรักษาโรคเหงือกโดยทันตแพทย์ก็จะมีหลากหลายออกไปตามลักษณะของสาเหตุและอาการ โดยทันตแพทย์จะเป็นผู้วางแผนวิธีการรักษาโรคเหงือกให้กับคุณอย่างเหมาะสมที่สุด ดังนี้
- หากเหงือกของคุณเพียงแค่มีคราบพลักและหินปูน ทันตแพทย์จะทำการกำจัดหินปูนออกทั้งหมด หรืออาจมีการพิจารณาในการเกลารากฟันเพื่อทำความสะอาดคราบต่าง ๆ ทั้งหมด ก่อนจะแนะนำให้ใช้ยาสีฟัน ไหมขัดฟัน และน้ำยาบ้วนปากที่สามารถช่วขจัดคราบและเชื้อแบคทีเรียออกไปได้ โดยที่ไม่ก่อให้เกิดอาการระคายเคือง รวมถึงให้คำแนะนำในการแปรงฟัน การใช้ไหมขัดฟัน และการบ้วนปากที่ถูกวิธีอีกด้วย
- ในบางรายทันตแพทย์จะพิจารณาในการใข้ยาปฏิชีวนะร่วมด้วย
- ในกรณีที่เป็นผลข้างเคียงจากยา ทันตแพทย์จะแนะนำให้เปลี่ยนหรืองดรับประทานยาที่ใช้รักษาอยู่ โดยที่จะทำการปรึกษากับแพทย์ผู้รักษาและสั่งจ่ายยาเหล่านั้น เพื่อไม่ให้เกิดการหยุดรับประทานยาด้วยตนเอง
- ในบางกรณีอาจต้องมีการผ่าตัดเหงือกเพื่อปลูกถ่ายเนื้อเยื่อเหงือกให้มีความสมดุลมากขึ้น เพื่อลดปัญหาเหงือกอักเสบ
- ส่วนผู้ป่วยที่พบว่าเป็นมะเร็งในช่องปากก็จะต้องทำการรักษาด้วยวิธีรังสีหรือเคมีบำบัด ตามแต่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญพิจารณาต่อไป
อย่างไรก็ตาม วิธีการรักษาโรคเหงือกโดยทันตแพทย์จะมีทั้งแผนการรักษาและคำแนะนำที่ถูกต้องและเหมาะสม รวมถึงต้องอยู่ภายใต้การดูแลของทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญตลอดการรักษา เพื่อให้เหงือกของคุณกลับมามีสุขภาพดีอีกครั้ง
คุณสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับคลีนิคเราได้ที่ : คลินิกทันตกรรม เครือตรงข้าม
เหงือกอักเสบขูดหินปูนได้ไหม
เมื่อมีอาการ เหงือกอักเสบขูดหินปูนได้ไหม ? แน่นอนว่าหนึ่งในสาเหตุของเหงือกอักเสบคือหินปูน ซึ่งจะต้องทำการขูดหินปูนออกให้เร็วที่สุด
ในบางรายอาจต้องทำการเกลารากฟันร่วมด้วย เพื่อทำความสะอาดหินปูนและคราบต่าง ๆ ให้หมด แม้ว่าเหงือกอักเสบขูดหินปูนได้จริง
แต่ในบางครั้งหลังจากการขูดหินปูนอาจมีเลือดออกตามร่องเหงือกได้ ดังนั้น เมื่อเหงือกอักเสบแล้วขูดหินปูนจะต้องรักษาความสะอาดเป็นพิเศษ เพื่อไม่ให้อาการอักเสบมีเพิ่มขึ้น
การป้องกันอาการเหงือกบวมอักเสบ
หากคุณรู้สึกกลัวที่จะต้องเจ็บหรือปวดเหงือก คุณก็ควรจะรู้การป้องกันอาการเหงือกบวมอักเสบ ซึ่งสามารถทำได้ไม่ยากและป้องกันอาการเหงือกบวมอักเสบได้เป็นอย่างดี
นั่นก็คือการดูแลรักษาความสะอาดของเหงือกและฟันให้ถูกวิธี นอกจากนี้ ยังมีการป้องกันอาการเหงือกบวมอักเสบอีกหนึ่งวิธีที่ทั้งง่ายและปลอดภัย นั่นก็คือ
ป้องกันด้วย ยาสีฟันรักษาเหงือกอักเสบ
การป้องกันด้วย ยาสีฟันรักษาเหงือกอักเสบ ซึ่งยาสีฟันเหล่านี้จะมีส่วนผสมของแร่ธาตุ สาร หรือสมุนไพรบางชนิดเพื่อบำรุงเหงือก พร้อม
ขจัดคราบพลักสะสมที่อาจก่อให้เกิดหินปูนได้มากกว่ายาสีฟันทั่วไป โดยยาสีฟันประเภทนี้จะระบุว่าเป็นยาสีฟันสำหรับ Multi Care
หรือ Gum Care โดยเฉพาะ แต่การป้องกันด้วย ยาสีฟันรักษาเหงือกอักเสบ เพียงอย่างเดียวคงไม่ได้ การดูแลเหงือกและฟันให้แข็งแรง
จะต้องควบคู่กับการแปรงฟันและทำความสะอาดฟันอย่างถูกวิธีด้วย จึงจะช่วยในการป้องกันอาการเหงือกอักเสบได้เป็นอย่างดี
สรุป
และทั้งหมดนี้ก็คือเรื่องราวของเหงือกอักเสบที่เกิดขึ้นบ่อยกับหลายคนแบบไม่รู้ตัว เพราะอาการอาจไม่ได้แสดงออกอย่างชัดเจนนัก
แต่เมื่อคุณรู้ตัวอีกทีก็อาจจะสายเกินแก้แล้วก็เป็นได้ ดังนั้น การดูแลรักษาเหงือกและฟันด้วยการทำความสะอาดอย่างถูกวิธีและเหมาะสมยังเป็นสิ่งที่จำเป็นในกิจวัตรประจำวันของคุณ รวมถึงการเข้าพบทันตแพทย์ทุก 6 เดือน เพื่อตรวจเช็คและทำความสะอาดช่องปากโดยทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
ซึ่งการดูแลเหงือกและฟันของคุณให้แข็งแรงอย่างสม่ำเสมอนั้น จะส่งผลต่อสุขภาพโดยรวมของคุณอีกด้วย เมื่อรู้เช่นนี้แล้วไปดูแลเหงือกของเราให้แข็งแรงกันดีกว่าค่ะ
แหล่งที่มา : rama-mahidol , sanook , poalo